Get Adobe Flash player

การบริหารต้นทุนที่ดีถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรที่มีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่มีคู่แข่งขันเป็นจำนวนมากอย่างอุตสาหกรรมกาว อีกทั้งมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆพร้อมจะเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมตลอดเวลา การสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่โดยไม่ต้องลงทุนในทรัพยากรเพิ่มเติม ถือเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น จากการวิเคราะห์ต้นทุนรายกิจกรรมที่เกิดขึ้นขององค์กรในการนำทฤษฎีต้นทุนฐานกิจกรรมมาใช้ โครงการวิจัยนี้ยังจะนำมาต่อยอดและนำผลลัพธ์ที่ได้ มาหาแนวทางลดต้นทุนจากกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้น โดยนำวิธีการจัดเส้นทางการหยิบสินค้า (Routing Order Picker) มาประยุกต์ใช้ในการหาวิธีที่จะหยิบสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด

การกำหนดต้นทุนโลจิสติกส์มีจุดเริ่มต้นจากการนำแนวคิดด้านการตลาดที่กล่าวว่า "ความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับการประเมินความจำเป็น และความต้องการของตลาดเป้าหมาย รวมทั้งส่งมอบความพึงพอใจเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เหนือคู่แข่ง" มาใช้กับหลายองค์กร จนทำให้องค์กรเหล่านั้น สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างโดดเด่น ซึ่งการตอบสนองที่เกิดขึ้นดังกล่าวก่อให้เกิดความหลากหลายโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของผลิตภัณฑ์และการบริการ ส่งผลให้ต้นทุนในการตอบสนองลูกค้า (Cost to Serve) แตกต่างกันไปด้วย

ส่วนประกอบของต้นทุนโลจิสติกส์ ต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้

1) ต้นทุนการขนส่ง (Transportation Cost) ต้นทุนที่เกิดจากกิจกรรมการขนส่งและบริการซึ่งต้นทุนเหล่านี้ยังผันแปรไปตามปริมาณการขนส่ง น้ำหนัก ระยะทาง จุดหมายปลายทาง รวมไปถึงวิธีการขนส่งที่ก่อให้เกิดต้นทุนที่แตกต่างกัน
2) ต้นทุนคลังสินค้า (Warehousing Costs) ต้นทุนที่เกิดจากกิจกรรมภายในคลังสินค้าและการจัดเก็บสินค้า การถ่ายโอนข้อมูลในคลังสินค้า การเลือกสถานที่ตั้ง เช่น โรงงาน คลังสินค้า ซึ่งจะแปรผันไปตามชนิดและปริมาณของสินค้า
3) ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost) ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง ซึ่งจะผันแปรไปกับปริมาณของสินค้าคงคลังและทำให้เกิดต้นทุนด้านต่าง ๆ อีก เช่น ต้นทุนเงินทุน (Capital Cost) และต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ต้นทุนในการดูแลสินค้าได้แก่ ค่าประกันภัย และภาษี ต้นทุนพื้นที่การจัดเก็บสินค้า ได้แก่ ต้นทุนด้านสถานที่ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณของสินค้า ต้นทุนความเสี่ยงในการจัดเก็บสินค้า ได้แก่ ความล้าสมัย การลักขโมย
4) ต้นทุนการบริหาร (Administration Cost) เกิดจากกิจกรรมหลัก 3 ประเภท คือ

  • ระดับการให้บริการ (Customer Service Level) เป็นเงินที่จ่ายไปเพื่อสนับสนุนการบริการลูกค้า เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำให้คำสั่งซื้อสมบูรณ์
  • ต้นทุนกระบวนการสั่งซื้อและระบบสารสนเทศ (Order Processing and Information Costs) ได้แก่ ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสั่งซื้อ การกระจายการติดต่อสื่อสาร และการพยากรณ์อุปสงค์
  • ต้นทุนปริมาณ (Lot Quantity Cost) ซึ่งโดยหลักการแล้วจะขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่จัดซื้อจัดหาและผลิต ดังนั้นเมื่อระดับของลูกค้ามีความแตกต่างกัน ความสำคัญของลูกค้าแต่ละรายย่อมมีความแตกต่างกันไปด้วย องค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้าที่มีค่ากับองค์กรให้มากที่สุด และให้ความสำคัญกับลูกค้าที่มีค่ากับองค์กรในระดับที่ลดหลั่น กันไป

สำหรับองค์กรแล้ว การนำแนวคิดเรื่องโลจิสติกส์มาใช้ก็เพื่อต้องการลดต้นทุนที่เกิดขึ้นรวมทั้ง สามารถสร้างสมดุลของต้นทุนกิจกรรมโลจิสติกส์ให้ได้ ดัง นั้น Prosoft GPS จึงออกแบบระบบ GPS Tracking มาเพื่อช่วยองค์กรให้สามารถบริหารจัดการรถได้เต็มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายจากการเดินรถ และลดพฤติกรรมการใช้งานรถที่ไม่เหมาะสมซึ่งอาจเกิดจากการนำรถไปใช้ผิดวัตถุ ประสงค์ อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า และการแข่งขันทางธุรกิจด้วย

เพื่อความต้องการที่หลากหลายและเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า Prosoft GPS ได้พัฒนาระบบ GPS Tracking ขึ้นมา 2 ระบบ คือ GPS แบบมีรายเดือน และ GPS แบบไม่มีรายเดือน

 ระบบ GPS ติดตามรถส่วนบุคคลและขนส่งสินค้าทั่วไป

 

ระบบ GPS ติดตามรถขนส่งที่ใช้เครื่องรูดบัตรใบขับขี่

 

ระบบ GPS ติดตามรถส่วนบุคคลจับโขมยผ่านดาวเทียม

ประโยชน์ของระบบ GPS Real Time

เพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการและงานบริการ ลดความยุ่งยาก,รายงานและข้อมูลเพื่อวางแผนธุรกิจ,ส่งสินค้าถูกที่ตรงเวลา
ลดต้นทุน ลดอุบัติเหตุ ข้อมูลเที่ยววิ่ง (เวลา,ระยะทาง,ใช้น้ำมัน) ควบคุมความเร็ว,จอดรถติดเครื่อง
รู้ทันพฤติกรรมทุจริต ดูดน้ำมันขาย,เติมน้ำมันไม่ตรงตามจริง,ออกนอกเส้นทาง,ใช้งานส่วนตัว
ป้องกันการโจรกรรม ติดตามรถและสินค้าคืนจากการถูกโจรกรรม